ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก นางสาวกมลรัตน์ อินสอน คบ.2 หมู่2 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

จิตวิทยาการเรียนการสอน

จิตวิทยา ( psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอนพร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน

ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน
1.ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
2.หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
3.ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
4.การนำอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน

จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
1.มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน
2.นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน

หลักการสำคัญ
1.มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน

จิตวิทยาครู
ครู หมายถึง ผู้สอนมาจากภาษาบาลีว่า ครุ ภาษาสันสกฤตว่า คุรุ แปลว่า
หนักสูงใหญ่ ครูต้องรับภารหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบครูต้องมีความหนักแน่น
สุขุมไม่วู่วาม ทั้งความคิดและการกระทำบทบาทและความสำคัญของครูในปัจจุบัน
ธีรศักดิ์ (2542)ได้กล่าวถึง 4 ประเด็นดังนี้
   1.บทบาทและความสำคัญต่อเยาวชน
   2.บทบาทและความสำคัญของครูในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
   3.บทบาทและความสำคัญของครูในการรักษาชาติ
   4.บทบาทและความสำคัญของครูในเยียวยาสังคม

รูปแบบของครู(Models of Teachers) Fenstermacher และ Soltis (1992)ได้กล่าวถึงรูปแบบและบทบาทของครู เป็น 3 ประเภท
          1. The Executive Model ทำหน้าที่คล้ายบริหาร
 2. The Therapist Model มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างใกล้ชิด
          3. The Liberationist Model ครูที่ให้อิสระผู้เรียนในการเรียนรู้

ครูอาจมีบทบาทดังนี้
1.รับผิดชอบการวางแผนการสอนและวัดผล
2.มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนหรือให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ทำหน้าที่ผู้จัดการหรือบริหารห้องเรียนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้
4.ให้คำปรึกษารับฟังความคิดเห็นแก่ผู้เรียน


บทบาทดังกล่าวนี้มีความสอดคล้องกับแนวคิดของ Woolfok และ  Nicalich (1980)ที่กล่าวไว้หลายประเด็นและมีคลอบคลุมดังนี้
1.เป็นผู้ชำนาญการสอนเป็นผู้ที่กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ
2.เป็นผู้จัดการเป็นผู้นำ
3.เป็นผู้ให้คำปรึกษา
4.เป็นวิศวกรสังคมเป็นตัวแบบ

หลักการที่สำคัญสำหรับครู  Mamchak and Mamchak (1981)ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างครูและนักเรียนดังนี้
1.ไม่รื้อฟื้นปัญหาที่เคยเกิดขึ้น
2.ให้ความยุติธรรมแก่เด็กอย่างเท่าเทียมกัน
3.ตั้งเป้าหมายที่นักเรียนสามารถทำได้
4.ครูควรบอกถึงข้อจำกัดของตน
5.ครูควรทราบข้อจำกัดของเด็กแต่ละคน
6.ครูควรใส่ใจเด็กทุกคน

ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
1.ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
2.ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
3.ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล

4.ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่นแรงจูงใจ ความคาดหวังเชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ

 ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
1.ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
2.ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
3.ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการรวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน (สุวรี, 2535)